วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปบทที่ 3

ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา (Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ส่วนที่เป็นพลังด้านจิตวิทยาคือความต้องการการพักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ความต้องการที่จะได้เห็นสิ่งที่แปลกใหม่ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)

เป็นทฤษฎีของ Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (wanting animals) และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการ (wants) และความต้องการจำเป็นต่างๆ (needs) ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม 5 ขั้น ซึ่งความต้องการเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้น (motivation)ในระดับล่างสุดคือ ความต้องการทางสรีระหรือความต้องการทางร่างกายซึ่งเป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เมื่อความต้องการในระดับนี้ได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วความต้องการนี้ก็ไม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการในระดับถัดไปคือความต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยซึ่งรวมไปถึงความปลอดภัย เมื่อความต้องการในขั้นนี้ได้รับการตอบสนองความต้องการทางสังคมก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นตัวต่อไปได้แก่ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม ความต้องการทั้งสามระดับที่กล่าวถึงมาแล้วนี้เรียกว่าเป็นความต้องการในระดับพื้นฐานหรือความต้องการในระดับปฐมภูมิ ระดับปฐมภูมิคือความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องของความภาคภูมิใจ (esteem) บางคนเรียกความต้องการนี้เรียกว่าความต้องการด้านอัตตา (ego needs) ในระดับสูงสุดของความต้องการทั้งหลายของคนเราคือ ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จ


2.ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)

ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self - direcded) และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other - direcded) ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพออใจสูงสุด (Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง


3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ CromptonCrompton

ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำการวิจัยนี้เมื่อปีค.ศ.1979 สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า วาระซ่อนเร้น หรือ Hidden Agenda มีบางส่วนคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow


4.แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke

ในหนังสือเรื่อง Consumer Behaviour in Tourism ของ John Swarbrooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆ ที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ส่วนได้แก่

1.)แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ

2.)แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม

3.)การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง

4.)การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ

5.)แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

6.)แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้วของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

Parce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้

1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสแวดล้อม

2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น

3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน

4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว

5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย

6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ

7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี

8.แรวจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย

9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม

10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง


โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่

1.ระบบไฟฟ้า

2.ระบบประปา

3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

4.ระบบการขนส่ง

-ระบบการเดินทางทางอากาศ

-ระบบการเดินทางทางบก

-ระบบการเดินทางทางน้ำ

5.ระบบสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น