วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปบทที่ 7

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ตัวแทนการจำหน่ายการท่องเที่ยวที่สำคัญ 4 ประเภทคือ

1.แทรเวลเอเจนซี่

แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยวและช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่

1 จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว

2 ทำการจอง

3 รับชำระเงิน

4 ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

5 ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ

6 ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร

7 ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่

1 แทรเวล เอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว มีความเป็นมืออาชีพ จึงสามารถเสาะหาสินค้าที่เหมาะสมได้ดีกว่าและรู้ปัญหาต่างๆมากกว่า

2 แทรเวล เอเจนซี่ สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด

3 แทรเวล เอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก

4 แทรเวล เอเจนซี่ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา

5 แทรเวล เอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบการธุรกิจมากกว่า

6 แทรเวล เอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่4 ประเภท คือ

1 แบบที่มีมาแต่เดิม A Conventional

2 แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต Online Agencies

3 แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง Specialized Agencies

4แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก Home-Based Agencies

2.บริษัททัวร์

บริษัททัวร์ หมายถึง ธุรกิจที่จัดทำทัวร์แบบเหมาจ่ายหรือจัดนำเที่ยว

ประโยชน์ของการใช้บริการบริษัททัวร์

1 ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

2 ประหยัดค่าใช้จ่าย

3 ได้ความรู้

4 ได้เพื่อนใหม่

5 ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย

6 ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์

มี3 ประเภท คือ

1 ทัวร์แบบอิสระ Independent Tour

2 ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเทื่ยว Hosted Tour

3 ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว Escorted Tour

3.บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวDestination Management Company or DMC

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำจัดความดังนี้ บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล Incentive Groupบริษัทเหล่านี้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการบริการด้านต่างๆ ณ แหล่งท่องเที่ยวบริษัทเอกชนต่างๆนิยมติดต่อบริษัทรับการจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล

4.บริษัทรับจัดการประชุม Meeting Planner

บริษัทรับการประชุมมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม

-จองห้องพัก

-จองห้องประชุมและอุปกรณ์สำหรับการประชุม

-ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม

-วางแผนโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม

-ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด

-ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ

-ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต

-บริการด้านการเดินทางและขนส่ง

-ประเมิณผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง

สรุปบทที่ 6

บทที่ 6 ที่พักแรม

ธุรกิจที่พักแรมในสากล
ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย

ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวตะวันตกเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก โรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
-โอเรียลเต็ลโฮเต็ล

-โฮเต็ลหัวหิน หรือโรงแรมรถไฟหัวหิน
-โฮเต็ลวังพญาไท
-โรงแรมรัตนโกสินทร์

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
ต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญได้แก่
-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
-ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม และบริการที่เกี่ยวข้อง
-ความสะดวกสบายจากบริการสิง่อำนวยความสะดวกที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้พักกลุ่มต่างๆ
-ความเป็นส่วนตัว
-บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
-ภาพลักษณ์ของกิจการและอื่นๆ
ประเภทที่พักแรม
ประเภทที่พักแรมสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มสำคัญได้แก่ โรงแรมและที่พักนักท่องเที่ยว

1 โรงแรม หมายความว่า สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นโดยมีค่าตอบแทน

1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม

-ด้านที่ตั้ง
-ด้านขนาด
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก
-ด้านราคา
-ด้านระดับการบริการ
-ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์
-ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร

โรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าของกิจการดำเนินการเอง ตามนโยบายและวิธีการที่กำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ มีอำรนาจในการบริหารโดยสมบูรณ์ทำให้คล่องตัวในการจัดการ

โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือหรือเชน เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม มักใช้ชื่อประกอบการที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน โดยมีสำนักงานส่วนกลางควบคุมด้านนโยบาย มีข้อตกลงตามสัญญาในการดำเนอนธุรกิจร่วมกัน

2ที่พักนักท่องเที่ยว

-บ้านพักเยาชนหรือโฮสเทล เป็นที่พักราคาประหยัดพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเดินทางท่องเที่ยวในดินแดงต่างๆ เพื่อสร้างมิตรภาพและสันติภาพในสังคมโลกและสร้างประสบการณ์เรียนรู้จากการเดินทาง การดำเนินการของกิจการเป็นแบบไม่หวังผลกำไรมีการจัดตั้งเป็นสมาคมบ้านเยาวชนในแต่ละประเทศ และทุกแห่งจะเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธืบ้านเยาวชนนานาชาติ

-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด ได้แก่ บีแอนดฝืบี B&Bย่อมาจากBed abd Breakfast เพนชั่น ส่วนใหญ่เป็นบ้านให้เช่าพักในต่างประเทศ

-ที่พักริมทางหลวง ได้แก่ โมเต็ล เป็นที่พักขนาดเล็กตั้งอยู่ใกล้หรือริมทางหลวงสายหลักหรือระหว่างเมือง ให้บริการห้องพักและที่จอดรถหน้าห้องพักในราคาแบบประหยัด มีสิง่อำนวยความสะดวกจำกัดและไม่มีบริการอาหาร เป้นที่พักที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา

-ที่พักแบบจัดสรรเวลาพักหรือไทม์แชริ่ง เป็นที่พักบริการคล้ายโรงแรม ใช้วิธีจัดการเพื่อจัดสรรให้มีการหมุนเวียนเข้าพักในกลุ่มที่พักตักอากาศ ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักที่มีการเฉลี่ยกรรมสิทธิ์ถือครอง โดยแต่ละหน่วยห้องพักคลายห้องชุดจะมีกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันถือกรรมสิทธิ์จากการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการซื้อผู้ร่วมถือกรรมสิทธิ์ใช้บริการตามจำนวนวันพักเฉลี่ยที่กำหนดไว้ต่อไป เป็นประเภทธุรกิจที่เติบโตและได้รับความนิยมมากในอเมริกา

-เกสต์เฮ้าส์ เป็นที่พักขนาดเล็กราคาประหยัด ส่วยใหญ่ดัดแปลงมากจากบ้านพักเดิมที่เจ้าของแบ่งให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก อาจจัดอาหารเช้าบริการให้หรือไม่มีก็ได้ มักตั้งอยู่ในย่านชุมชนหรือตามเมืองท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ

-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาวหรือเซอร์วิสอพาตเม้นท์ เป็นที่พักให้บริการห้องชุดสำหรับผู้พักระยะยาวป้นสัปดาห์/เดือน/ปี กิจกรรมจะเน้นบริหารห้องพักในรูปแบบคล้ายคลึงกับบริการโรงแรม มีห้องครัวปรุงอาหารให้

-ที่พักกลางแจ้ง เป็นที่พักแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก โดยจัดพื้นที่ลานกลางแจ้งสำหรับให้นักท่องเที่ยวที่นิยมใกล้ชิดธรรมชาติได้ตั้งค่ายหรือพักเต้นท์หรือเช่าจอดรถพ่วงซึ่งภายในรถมีทั้งที่นอน ห้องน้ำและบริเวณครัว

-โฮมสเตย์ หรือที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท เป็นรูปแบบบริการที่พักพร้องกิจกรรมท่องเที่ยว ที่พักมีลักษณะเป็นบ้านพักที่นักท่องเที่ยวพักร่วมกับเจ้าของบ้านและได้ร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวบ้านในชุมชนนั้น

ประเภทห้องพัก

-Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว

-Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด

-Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ 2 คน

-Suit ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่น

สรุปบทที่ 5

บทที่ 5 การการคมนาคมขนส่ง

การคมนาขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่วข้องกับการเคลื่อนย้าย คน สัวต์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ราคาที่ได้ตกลงกันไว้

ประเภทธุรกิจคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1ธุรกิจการขนส่งทางบก
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนตร์ส่วนบุคคล
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
-รถตู้เพื่อนันทนาการ
-รถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว


2ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
- เรือเดินทะเล
- เรือสำราญ
- เรือข้ามฟาก
- เรือใบและเรือยอร์ช


3 ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
- การบินลักษณะเที่ยวประจำ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมือง มีตารางบินที่แน่นอน
- เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
- เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ
- การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ
- การบินลักษณะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ

สรุปบทเรียนบทที่ 4

องค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยว
คำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1 ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว Tourism Resources
2 จุดหมายปลายทาง Desitation
3สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว Tourist Attraction

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก ทะเล

2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น เช่น งานประเพณีต่างๆ แห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง

ประกอบด้วย 21 จังหวัด ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลานสาย พื้นที่บริเวณนี่จึงอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ก่ให้เกิดงานศิลป์ที่งดงามตามวัดต่างๆ บางแห่งได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลกที่ต้องรักษาไว้ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของถ้ำอันสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมของชาติ ได้แก่พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น และยังเป็นศูนย์รวมทางด้านการค้า ห้างสรรพสินค้าอีกด้วย

ภาคเหนือ

ประกอบด้วย 17 จังหวัด ภาคเหนือมียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ คือ ยอดเขาดอยอินทนนท์อยู๋ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บริเวณภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกข้าว พืชไร่ และผลไม้อีหลากหลายชนิด ภาคเหนือยังเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของปรนะเทศไทย อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พระธาตุดอยสุเทพ และวัดวาอารามอีกจำนวนมาก อีกทั้งยังมีหัตถกรรมที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสินค้าส่งออก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประกอบด้วย 17 จังหวัดเป็นแหล่งของต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรมแม่น้ำชีและลำตะคอง ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรักกั้นระหว่างภาคอีสานชองไทยกับกุมพูชาและลาว ทางตอนใต้มียอดเขาเขียวที่สูงที่สุดสูงประมาณ 1292 เมตร ส่วนตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้ แบ่งภาคอีสานเป็น 2 ส่วนคือ แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร แหล่งท่องเที่ยวมีหลากหลาย เช่น ภูเรือ ภูกระดึง ภูหลวง และเขาใหญ่ เป็นต้น
สินค้าที่ระลึกที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอม์อ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักรสานและเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ประกอบด้วย 4 จังหวัด ลักษณธเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย อีกทั้งยังมีเกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะสีชัง เกาะกูด เกาะเสม็ด เกาะมัน ในจังหวัดชลบุรีบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆในภูมิภาคตะวันออก และยังเป็นแหล่งรวมแร่อัญมณีที่มีค่าของประเทศ

ภาคใต้

ประกอบด้วย 14 จังหวัด ทุกจังหวัดของภาคใต้มีเขต ติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา ประกอบไปด้วยพื้นที่ราบ ป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ภ้ำ ทะเลสาบ มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือเขาสันกาลาคีรีเป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีแม่น้ำสายที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง กิจกรรมงานประเพีณีของภาคใต้ อาทิเช่น การแสดงโนราห์ หนังตะลุง รองเง็ง การชนวัว งานแข่งเรือกอและ งานกินเจ เป็นต้น


ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการจัดเป็นมรดกโลกทั้ง5 แหล่งประกอบด้วยมรดกโลกทางธรรมชาติ และมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่
-สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร

-พระนครศรีอยุธยา ราชธานีเก่าแก่ของไทยที่มีความเจริญรุ่งเรือง

-แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร- ห้วยขาแข้ง ผืนป่าเขาใหญ่

- ดงพญาเย็น

สรุปบทที่ 3

ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา (Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ส่วนที่เป็นพลังด้านจิตวิทยาคือความต้องการการพักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ความต้องการที่จะได้เห็นสิ่งที่แปลกใหม่ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)

เป็นทฤษฎีของ Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (wanting animals) และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการ (wants) และความต้องการจำเป็นต่างๆ (needs) ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม 5 ขั้น ซึ่งความต้องการเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้น (motivation)ในระดับล่างสุดคือ ความต้องการทางสรีระหรือความต้องการทางร่างกายซึ่งเป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เมื่อความต้องการในระดับนี้ได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วความต้องการนี้ก็ไม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการในระดับถัดไปคือความต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยซึ่งรวมไปถึงความปลอดภัย เมื่อความต้องการในขั้นนี้ได้รับการตอบสนองความต้องการทางสังคมก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นตัวต่อไปได้แก่ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม ความต้องการทั้งสามระดับที่กล่าวถึงมาแล้วนี้เรียกว่าเป็นความต้องการในระดับพื้นฐานหรือความต้องการในระดับปฐมภูมิ ระดับปฐมภูมิคือความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องของความภาคภูมิใจ (esteem) บางคนเรียกความต้องการนี้เรียกว่าความต้องการด้านอัตตา (ego needs) ในระดับสูงสุดของความต้องการทั้งหลายของคนเราคือ ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จ


2.ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)

ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self - direcded) และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other - direcded) ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพออใจสูงสุด (Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง


3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ CromptonCrompton

ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำการวิจัยนี้เมื่อปีค.ศ.1979 สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า วาระซ่อนเร้น หรือ Hidden Agenda มีบางส่วนคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow


4.แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke

ในหนังสือเรื่อง Consumer Behaviour in Tourism ของ John Swarbrooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆ ที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ส่วนได้แก่

1.)แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ

2.)แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม

3.)การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง

4.)การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ

5.)แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

6.)แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้วของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

Parce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้

1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสแวดล้อม

2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น

3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน

4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว

5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย

6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ

7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี

8.แรวจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย

9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม

10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง


โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่

1.ระบบไฟฟ้า

2.ระบบประปา

3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

4.ระบบการขนส่ง

-ระบบการเดินทางทางอากาศ

-ระบบการเดินทางทางบก

-ระบบการเดินทางทางน้ำ

5.ระบบสาธารณสุข

สรุปบทที่ 2

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักร บาบิโลน ( Babylonian Kingdom) และอาณาจักรอิยิปต์ ( Egyptian Kingdom)
-การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
-
มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนัง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ


จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ

-
สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า

-
เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส

-
เพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์


สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism) ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns) ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย


ยุคกลาง หรือ ยุคมืด ( Middle Age or Dark Age)ประมาณ ค.ศ. 500-1500
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury’s tales การเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์ G6/3-Date 9Jun08

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance)
ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ

-
เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า

-
ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว(Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี

-
อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได้


สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
-
สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น

-
ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ

-
การโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา

-
มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น

-
มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน


ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
-
ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง

-
พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

-
ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส



วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น


สมัยอยุธยา
-
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า

-
มีปรับปรุงเส้นทางทางน้ำเพื่อการคมนาคม ตลอดจนเส้นทางทางบก เพื่อความสะดวกสบายทางด้านการค้าเป็นหลัก และเพื่อการเดินทาง

-
กลุ่มคนที่มีการเดินทางในสมัยอยุธยา มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นปกครอง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาขุนนางทั้งหลาย ในบางครั้งอาจจะมีไพร่ทาสติดตามไปเพื่อรับใช้เช่นกัน

-
ในประมาณปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา ตามมาด้วย ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส


ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศส ของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การค้าขายติดต่อกับชาติตะวันตกลดน้อยลง หันไปค้าขายกับจีนมากขึ้น และพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาโดยทั่วไป ที่สำคัญคือ เคยมีการส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาทวีป และในลังกาเรียกนิกายสงฆ์ของตนว่า สยามวงศ์อีกด้วย


สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สมัยรัชกาลที่สอง ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ

สมัยรัชกาลที่สาม บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์

สมัยรัชกาลที่สี่ ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง

สมัยรัชกาลที่ห้า ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

สมัยรัชกาลที่หก มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.
2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย

สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.
2522